PDPlus - Movement Diary 12+

Chulalongkorn Centre of Excellence for Parkinson's Disease & Related Disorders

Entwickelt für iPad

    • Gratis

Screenshots

Beschreibung

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease, PD) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองลดลง สารนี้มีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แสดงออกเป็นลักษณะที่สำคัญของผู้ป่วยพาร์กินสันเช่น
- อาการสั่น
- อาการแข็งเกร็ง
- อาการเคลื่อนไหวช้าหรือเคลื่อนไหวน้อย
- การทรงตัวที่ไม่มั่นคง
- ปัญหาการเดินติดขัด

เมื่อผู้ป่วยเป็นพาร์กินสันระยะเวลานานๆ อาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยาหรือมีปัญหาการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ เช่น ยาหมดฤทธิ์ก่อนกำหนด, อาการยุกยิก และยาออกฤทธิ์ช้าหรือยาไม่ออกฤทธิ์ นอกจากนั้นเมื่อผู้ป่วยรับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลานานยังส่งผลให้ได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน, ยุกยิก, เห็นภาพหลอน, หูแว่ว ได้

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและญาติ ซึ่งบางครั้งการอธิบายว่ายาที่รับประทานอยู่ให้ผลการรักษาที่พึงพอใจมากน้อยเพียงใดอาจจะยากที่จะอธิบายด้วยวาจาเปล่าๆ –– การจดบันทึกผลการรักษารวมทั้งผลข้างเคียงจากการใช้ยาไว้ จะช่วยให้แพทย์สามารถดูแลการรักษาโรคให้ดีขึ้น สำหรับการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้กันคือบันทึกประจำวันของผู้ป่วย (Patient’s diary) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจดบันทึกยาที่ต้องกินในแต่ละวัน ผลจากการใช้ยา รวมถึงอาการข้างเคียงต่างๆไว้ ทำให้แพทย์สามารถปรับขนาดยาในการรักษาให้เหมาะสมได้ดีขึ้น

แต่การใช้บันทึกประจำวันของผู้ป่วยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น
- ผู้ป่วยจำเป็นต้องการจดบันทึกตลอดเวลา อาจทำให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่
- ต้องพกสมุดบันทึกติดตัว สมุดมีโอกาสชำรุดหรือสูญหาย
- ผู้ป่วยบางคนเบื่อการจดบันทึก และหยุดบันทึก ทำให้เก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน
- ข้อมูลยาในสมุดอาจบันทึกผิดพลาดไม่ตรงกับที่แพทย์สั่ง
- รวมถึงข้อจำกัดในส่วนของแพทย์ ที่จะประเมินจากสมุดบันทึกได้ลำบากหากมีปริมาณข้อมูลที่จดบันทึกไว้มาก รวมถึงอาจมีความลำบากในด้านการประเมินข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจวางแผนการรักษาต่อเนื่อง

ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ และยังไม่มีวิธีที่จะวินิจฉัยโรคก่อนจะเกิดอาการแสดงขึ้นมา ในปัจจุบันงานวิจัยใหม่ๆจำนวนมากพยายามจะหาวิธีที่จะวินิจฉัยโรคพาร์กินสันให้เร็วขึ้นก่อนที่จะมีอาการแสดงชัดเจน เพื่อหายาหรือการรักษาอื่นที่สามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคได้บ้าง ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิและโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศมีพันธกิจเป็นผู้คิดค้น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ ในระดับประเทศและนานาชาติ หากมีเครื่องมือที่จะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณมากที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงช่วยในการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือจะนำไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้อีกเป็นจำนวนมาก

แอพพลิเคชั่น PDPlus หรือ Parkinson Plus ถูกจัดสร้างและได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ หน่วยประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะมาช่วยเหลือผู้ป่วยในจุดนี้อย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม แอพพลิเคชั่นนี้ทำหน้าที่เป็นบันทึกประจำวันของผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยมีอยู่กับตัวตลอดเวลา คือโทรศัพท์สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการจดบันทึกไม่ครบ สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ครบถ้วน รวมถึงเป็นตัวกลางนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลอย่างทันทีทันใด สามารถนำเสนอเป็นข้อมูลที่สรุปแล้วให้กับทั้งผู้ป่วยและแพทย์เพื่อนำไปใช้ในทางคลินิกได้ทันที ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยได้มากขึ้น ลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการใช้ยาและปัญหาของการตอบสนองต่อยาต่างๆได้อย่างมาก และมีฟังก์ชั่นเสริมเป็นการเตือนการกินยา และการทำแบบทดสอบเพื่อเก็บข้อมูลวิเคราะห์ลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคนแบบจำเพาะบุคคล เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้อย่างดีที่สุด

รายละเอียดคุณลักษณะภายในโปรแกรม (Features):
- การจัดเก็บบันทึกข้อมูลของสถานะ On / Off / Dyskinesia แบบเรียล์ไทม์
- ฟังก์ชั่นเตือนกินยา
- ตารางสรุปยาที่ใช้
- กราฟสรุปการใช้งานในแต่ละวัน รวมถึงสรุปการกินยา
- ข้อมูลแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน
- แบบทดสอบต่าง ๆ เพื่อการวิเคราะห์อาการและเก็บข้อมูลวิจัย

แอพพลิเคชั่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ หน่วยประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านทาง line id: ChulaPD ได้

Neuheiten

Version 1.0.3

Bug fixes and data validation

App-Datenschutz

Der Entwickler, Chulalongkorn Centre of Excellence for Parkinson's Disease & Related Disorders, hat darauf hingewiesen, dass die Datenschutzrichtlinien der App den unten stehenden Umgang mit Daten einschließen können. Weitere Informationen findest du in den Datenschutzrichtlinien des Entwicklers.

Nicht mit dir verknüpfte Daten

Die folgenden Daten werden zwar möglicherweise erfasst, aber nicht mit deiner Identität verknüpft:

  • Diagnose

Die Datenschutzpraktiken können zum Beispiel je nach den von dir verwendeten Funktionen oder deinem Alter variieren. Weitere Infos

Das gefällt dir vielleicht auch

PD Me Tools
Gesundheit und Fitness
Parkinson’s Disease [PD]
Medizin
Rhythm - Parkinson's Gait App
Gesundheit und Fitness
CYPD
Medizin
PD-Aware
Gesundheit und Fitness
เตือนกินยา
Medizin